ปลาคาบ.......นี่มีตัวเมียเปล่าเนี่ย

ปลาคาบ.......นี่มีตัวเมียเปล่าเนี่ย

ปลาในเเก้ว.......

ปลาในเเก้ว.......

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

บทความการเลี้ยงปลาเบื้องต้น




ปลาการ์ตูน

1. มีรูปร่างน่ารักสวยงาม สีสันฉูดฉาด สะดุดตา
2.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด ( บางตัวอาจต้องหัดกินอาหารสำเร็จรูปก่อน )
3.เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย
4. เป็นปลาที่ไม่ดุร้ายกับปลาชนิดอื่น เลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ ยกเว้น การ์ตูนบางชนิด
5.มีราคาตั้งแต่ถูก ถึง แพง ขึ้นอยุ่ว่านำเข้าหรือไม่ หรืออาจมีลายที่หาพบได้ยาก
ปลาการ์ตูน (Clownfish) เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกปลาสลิดหิน พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในบริเวณเส้นศูนย์สูตรทั่วโลก ปลาการ์ตูน ชอบอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลที่มีเข็มพิษสำหรับป้องกันอันตราย แต่ไม่เป็นอันตรายกับ ปลาการ์ตูน ทำให้สามารถอยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งนี้ ปลาการ์ตูน เป็นปลาทะเลที่นิยมนำมาเลี้ยงกัน เพราะมีสีสันสวยงาม ปลาการ์ตูน ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ตามธรรมชาตินั้น ปลาการ์ตูน จะอยู่กันเป็นครอบครัว และกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ทั้งนี้ ปลาการ์ตูน เป็นปลาที่หวงถิ่นมากจะมีเขตที่อยู่ของตนเอง สำหรับ ปลาการ์ตูน มีทั้งหมด 28 ชนิด ในเมืองไทยพบ ปลาการ์ตูน 7 ชนิด พบทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ได้แก่ ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ตูนอินเดียแดง ปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ ปลาการ์ตูนอานม้า ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนอินเดียน ทั้งนี้ ปลาการ์ตูน ทั้ง 7 ชนิด ที่พบในประเทศไทย สามารถที่จะผสมพันธุ์และวางไข่ในตู้เลี้ยงได้ทุกชนิด การเพาะพันธุ์ ปลาการ์ตูน นั้น ต้องเริ่มจากการจับคู่พ่อ-แม่พันธุ์ที่จะผสมพันธุ์วางใข่ เพศของปลาการ์ตูนนั้นไม่สามารถบอกได้จากลักษณะภายนอก อีกทั้ง ปลาการ์ตูน สามารถที่จะเปลี่ยนเพศได้ โดยเพศของ ปลาการ์ตูน จะถูกกำหนดโดยโครงสร้างของสังคม และเมื่อเปลี่ยนเป็นเพศเมียแล้ว จะไม่สามารถกลับมาเป็นเพศผู้ได้อีก ทำให้การจับคู่ ปลาการ์ตูน มีความสลับซับซ้อนมาก สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ การเลี้ยง ปลาการ์ตูน เพื่อเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ จึงควรเริ่มจากปลาที่มีขนาดยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ และควรใช้ ปลาการ์ตูน ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงมากกว่าปลาธรรมชาติ เพราะจะมีความทนทานมากกว่า โดยควรนำปลามาเลี้ยงรวมกันเป็นฝูง ประมาณ 6-8 ตัว หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับขนาดตู้เลี้ยง เมื่อ ปลาการ์ตูน เริ่มจับคู่จะสังเกตว่าทั้งสองตัวจะแยกตัวออกจากฝูงและหวงอาณาเขต จากนั้นให้แยก ปลาการ์ตูน คู่นั้นออกจากตู้ไปเลี้ยงในตู้ที่เตรียมไว้สำหรับเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ การเลี้ยง ปลาการ์ตูน พ่อพันธุ์ - แม่พันธุ์ ตู้ที่ใช้เลี้ยง ปลาการ์ตูน พ่อพันธุ์ - แม่พันธุ์ ควรมีขนาดความจุอย่างต่ำ ประมาณ 100 ลิตร มีระบบกรองภายในหรือภายนอกตู้ เลี้ยงปลาแยกกันตู้ละ 1 คู่ ในตู้ให้จัดหาวัสดุสำหรับให้ปลาหลบซ่อน และสำหรับวางไข่ได้ เช่น แผ่นกระเบื้องปูพื้น กระเบื้องทะเลเข้าไปในตู้ เพราะปลาสามารถวางไข่ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีดอกไม้ทะเลอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อ - แม่พันธุ์ ให้ใช้อาหารสดที่มีคุณภาพดี เช่นเนื้อหอยลายสับ เนื้อกุ้ง ไรน้ำเค็มที่เสริมกรดไขมัน ไข่ตุ๋น ฯลฯ สลับกัน ให้อาหารวันละ 1 - 2 ครั้ง ระวังอย่าให้มีอาหารตกค้างอยู่ในตู้ ควบคุมคุณภาพน้ำโดยการทำความสะอาดก้นตู้ เปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งละ 10-20% ทุก 2 อาทิตย์ การดูแลและการฟักไข่ ปลาการ์ตูน พ่อ - แม่ปลาจะทำการดูแลไข่ในระหว่างการฟัก ซึ่งส่วนใหญ่ตัวผู้จะรับหน้าที่ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 7 วัน แต่ในช่วงอากาศหนาวจะใช้เวลาประมาณ 5-9 วัน หรือในช่วงทีอากาศร้อนจะใช้เวลาประมาณ 6 วัน การนำไข่ออกมาฟัก สามารถกระทำได้แต่จะให้ผลไม่ดีเท่ากับปล่อยให้พ่อ - แม่ปลาฟักไช่เอง การสังเกตว่าลูกปลาจะฟักหรือยัง สังเกตได้จากตาของลูกปลาที่อยู่ในถุงไข่ จะกลายเป็นสีน้ำเงินสะท้อนแสง ซึ่งแสดงว่าลูกปลาพร้อมที่จะฟักออกเป็นตัวแล้ว ลูกปลาจะฟักในช่วงหัวค่ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากมืดสนิทการอนุบาลปลาลูก ปลาการ์ตูน หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวให้แยกลูกปลาออกจากตู้ โดยใช้กระชอนผ้ารวบรวมลูกปลาและตักออกมาพร้อมน้ำ ระวังอย่าให้ลูกปลาสัมผัสกับอากาศ นำไปอนุบาลในตู้กระจกขนาดเล็ก ความหนาแน่นสูงสุดไม่ควรเกิน 10 ตัวต่อลิตร ให้อากาศแรงพอประมาณ ระหว่างการอนุบาลใช้ โรติเฟอร์ ไรน้ำเค็ม และสาหร่ายชนาดเล็ก เช่น ไอโซโครซิส เป็นอาหารในระยะ 2-3 วันแรกอาจใช้วิธีเพิ่มน้ ในตู้ปลาอนุบาล หลังจากนั้นจึงทำการดูดตะกอน เปลี่ยนถ่ายน้ำมันทุกวัน วันละ 20-50% ลูกปลาจะเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยจะมีลวดลาย สีสันบนลำตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมีลักษณะเหมือนกับพ่อ - แม่โดยสมบูรณ์ เมื่อมีอายุได้ 3-4 สัปดาห์ และลูกปลาจะลงไปอาศัยอยู่ที่พื้นกันตู้ ถือว่าสิ้นสุดระยะของการอนุบาล จึงย้ายลูกปลาไปเลี้ยงต่อในตู้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อัตรารอดของลูกปลาเฉลี่ยประมาณ 10-20% และลูกปลาจะมีขนาดความยาวประมาณ 8-10 มม.
การเลี้ยงปลาการ์ตูน เมื่อพ้นระยะอนุบาล ให้นำปลามาเลี้ยงในตู้เลี้ยงในตู้เลี้ยงที่ใหญ่ขึ้น ความหนาแน่น ประมาณ 1 ตัวต่อลิตร และเริ่มเปลี่ยนอาหารมาเป็นอาหารสด เช่น หอยลายสับหรือเนื้อกุ้งสับ หรือจะให้อาหารที่ผสมขึ้นเอง โดยค่อยๆ ลดไรน้ำเค็มลง ตู้ที่ใช้เลี้ยงต้องมีระบบกรองภายในหรือภายนอกมีการทำความสะอาดและเปลี่ยน ถ่ายน้ำเป็นระยะ เข่น มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 20% ทุก 2 สัปดาห์ สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากในการเลี้ยง ปลาการ์ตูน คือ คุณภาพน้ำและความหนาแน่น ถ้าให้อาหารมากเกินไป มีสิ่งสกปรกหมักหมมอยู่ในตู้เลี้ยงหรือมีความหนาแน่นมาก มักจะเกิดโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจาก Amyloodinium Ocellatum ซึ่งเมื่อเกิดแล้วลูกปลาจะตายเกือบหมด ดังนั้น การดูแลรักษาความสะอาดและคุณภาพน้ำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และความต้องการจับคู่ พ่อ-แม่พันธุ์ ควรจะนำปลาที่มีอายุประมาณ 4-6 เดือน แยกเลี้ยงเป็นพ่อ - แม่พันธุ์ต่อไป โดยปลาจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุได้ประมาณ 8-12 เดือน การให้อาหาร ปลาการ์ตูน การเลี้ยงปลาทะเลเพื่อเลี้ยงดูสวยงามนั้น ไม่ควรให้กินอาหารเกินวันละครั้งและควรให้กินแต่พออิ่ม ไม่ควรให้ตามที่ปลาต้องการ เพราะจะทำให้เกิดของเสียมาก บางช่วงถ้าปลาไม่กินอาหารเช่นในช่วยที่อากาศเย็น จะต้องงดให้อาหารหรือลดปริมาณของอาหารลง อาหารที่ให้อาจเป็นเนื้อกุ้งสับ หอยลานสับ กุ้งเคย อาหารสำหรับปลาทะเล ฯลฯ สลับกันไป และเมื่อมีอาหารเหลือตกอยู่ก้นตู้ต้องกำจัดออก ห้ามปล่อยทิ้งไว้กับตู้โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสีย
ขอขอบคุณข้อมูล kapook

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปลาดุกในไทย




สวัสดีครับวันนี้เอาปลาดุก + บทความมาให้ได้อ่านกันครับพี่น้อง ต้องขอขอบคุณบทความจาก et.ku.ac.th ด้วยครับ
ปลาดุกที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่หาไม่ยากหรอกครับ ที่ไหนมีเเอ่งน้ำที่ระบายได้เวลาน้ำลด ก็มักจะเจอปลาชนิดนี้หละครับ เพราะปลาพันธุ์นี้ มันโคตระอึดเลย ครับ
ในประเทศเรานั้นพบว่ามีปลาดุกด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด แต่เท่าที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือ ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดีเนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี
ปลาดุกอุย
สีของผิวหนังค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามตัวและบริเวณด้านข้างของลำตัวอย่างเด่นชัด เนื้อสีออกเหลือง มีมันมาก ลำคัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยจะป้านและสั้น
ปลาดุกด้าน
สีของลำตัวค่อนข้างคล่ำเล็กน้อย เนื้อมีสีขาว มีมันน้อย ส่วนหัวค่อนข้างแหลมและส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยมีลักษณะแหลมยาว ลักษณะดังกล่าว สังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก


แหล่งกำเนิดและถิ่นอาศัยปลาดุกจะพบแพร่กระจายทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่างๆทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป แม้ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยก็ยังพบปลาดุก ทั้งนี้เพราะปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่นเดียวกับปลาช่อน ดังนั้นจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อยและถึงแม้ว่าน้ำที่ค่อนข้างกร่อยปลาดุกก็ยังสามารถอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี
ลักษณะนิสัยของปลาดุกปลาดุกมีลักษณะที่ต่างจากปลาอื่นอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาดุกไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 คู่อยู่ที่ริมฝีปาก ตามีขนาดเล็กมาก ใช้หนวดในการหาอาหาร เพราะหนวดปลาดุกมีประสาทรับความรู้สึกที่ดีกว่าตา ปลาดุกชอบหากินตามหน้าดิน มีนิสัยว่องไว สามารถจะขึ้นมาอยู่บนบกได้ทนนานกว่าปลาชนิดอื่นๆ รวมถึงสามารถที่จะอาศัยอยู่ในดิน โคลน เลน และในน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้นาน เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนั่นเอง อาหารที่ปลาดุกชอบกิน ส่วนมากเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่อก็สามารถฝึกให้กินอาหารจำพวกพืชได้ รวมถึงสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหารบริเวณผิวน้ำแทนการหาอาหารกินตามหน้าดินได้เช่นเดียวกัน
อาหารปลาดุก
อาหารไม่ว่าสิ่งมีชีวิตใดๆ ล้วนแล้วแต่ต้องการอาหารเพื่อการดำรงอยู่ด้วยกันทั้งนั้น เมื่อปลาดุกฟักไข่ออกมาเป็นตัวลูกปลาดุกจะใช้อาหารจากถุงไข่แดงซึ่งติดอยู่ด้านหน้าท้องของลูกปลา ประมาณ 1 – 2 วัน ถุงไข่แดงจะยุบลง นั่นเป็นเครื่องหมายว่าอาหารที่ติดตัวลูกปลาดุกมาตั้งแต่เกิดได้ใช้หมดไปแล้ว จำเป็นต้องมีการหาอาหารจากสภาพแวดล้อมกิน ในช่วงนี้ผู้เลี้ยงลูกปลาดุกจำเป็นต้องใช้อาหารเพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งต้องมีปริมาณของโปรตีนสูง ได้แก่ ไข่แดงต้มสุก ไรแดง หรืออาหารผสม ต่อมาเมื่อปลาโตขึ้นสามารถที่จะปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้ อาหารที่ให้ได้แก่ ปลาเป็ดสับบดละเอียดผสมกับรำ หรือ อาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จวบจนกระทั่ง สามารถจับปลาดุกขายได้
ในธรรมชาติลูกปลาดุก กินอาหารจำพวกโปรโตซัว ไรน้ำขนาดเล็ก โรติเฟอร์ และแพลงค์ตอนพืช ปลาดุกที่มีขนาดโตขึ้น จะกินอาหารจำพวกตัวอ่อนของแมลง ลูกกุ้ง ลูกปู หนอน และอินทรีย์สารที่อยู่ตามพื้นโคลน นอกจากนี้ยังสามารถฝึกให้กินอาหารสมทบทั้งประเภทจมน้ำ หรืออาหารชนิดเม็ดลอยน้ำได้ ซึ่งมีส่วนผสมของอาหารประเภทปลายข้าว รำ กากถั่ว ปลาป่น เป็นต้น
ปลาดุกกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ( Omnivorous) มีนิสัยชอบหาอาหารกินในเวลากลางวันตามบริเวณพื้นก้นบ่อ และจะขึ้นมากินอาหารบริเวณพื้นผิวน้ำเป็นบางขณะ ในบางครั้งก็ถือว่าปลาชนิดนี้เป็นพวก Scavengers เนื่องจากเป็นปลาที่มีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเศษเนื้อที่กำลังสลายตัว ปลาดุกมีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารจำพวกพืชหรืออาหารจำพวกแป้ง
อาหารต่างๆ เหล่านี้ ทั้งที่มีตามธรรมชาติ ทั้งที่ผสมให้กินโดยการทำเองมีสารอาหารต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องให้ปลาดุกอย่างครบถ้วน ตามที่ปลาดุกต้องการ ปลาดุกจึงเจริญเติบโตได้ดี คุณค่าทางอาหารที่ปลาดุกต้องการและจำเป็นมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ
โปรตีน เป็นส่วนสำคัญของอาหารเพื่อนำเข้าไปเสริมสร้างร่างกาย ในส่วนที่สึกหรอ หรือนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ความต้องการโปรตีนของปลาดุกนั้นจะแตกต่างกันไปตามวัยและเวลาที่เพิ่มขึ้น ในลูกปลาวัยอ่อนจนถึงขนาดสามารถปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้มีความต้องการโปรตีนอยู่ในช่วง 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในช่วงระยะเวลาที่อยู่ในบ่อเลี้ยงปลาดุกมีความต้องการโปรตีน 25 – 35 เปอร์เซ็นต์
คาร์โบไฮเดรต สารอาหารประเภทนี้ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานได้บางส่วนแก่ร่างกาย ความต้องการคาร์โบไฮเดรตของปลาดุกจะอยู่ในช่วง 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วปลาดุกจะไม่ขาดสารอาหารประเภทนี้เพราะมีอยู่ในแป้ง ปลายข้าว รำ และในข้าวโพด นอกจากนี้วัตถุดิบเหล่านี้ในอาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จะช่วยให้อาหารรวมตัวกันได้แน่นขึ้นอีกด้วย
ไขมัน ไม่ว่าอาหารชนิดใดมักจะมีไขมันปะปนอยู่ด้วยเสมอไม่มากก็น้อย ซึ่งสารอาหารนี้เป็นสารอาหารที่ให้กำลังงานในปริมาณที่สูง บางครั้งปลาดุกที่ได้รับไขมันเป็นจำนวนมากก็จะมีโทษได้เช่นเดียวกันกับการมีประโยชน์ของมัน ในอาหารที่ให้ปลาดุกไม่ควรจะมีไขมันในปริมาณที่มากเกิน 5 – 6 เปอร์เซ็นต์ วัตถุดิบที่มีไขมันในปริมาณมากได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
วิตามิน สารอาหารชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นอาหารบำรุง เพราะมีส่วนช่วยให้ปลาดุกสามารถใช้สารอาหารอื่นๆ ได้มากขึ้น ทำให้ปลาดุกมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นโดยที่สารอาหารชนิดนี้เองไม่ได้มีส่วนในการเจริญเติบโตของปลาดุกโดยตรงเลย ดังนั้นวิตามินจึงมีความจำเป็นที่ปลาดุกจะต้องได้รับตามความเหมาะสม
แร่ธาตุ เป็นส่วนประกอบสำคัญๆ ของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน และยังเป็นสารที่ควบคุมปริมาณของน้ำในตัวปลา แร่ธาตุมีอยู่ในสารอาหารโดยทั่วๆ ไปอยู่แล้ว

อาหารลูกปลา
ไข่แดงต้มสุก เป็นอาหารของปลาดุกในช่วงในช่วงที่ปลายังมีขนาดเล็ก ไม่สามารถกินอาหารอื่นๆ ได้ ไข่ที่นำมาใช้เป็นไข่เป็ด หรือไข่ไก่ ก็ได้ต้มให้สุกใช้แต่ไข่แดง โดยบี้ไข่แดงยีกับผ้าขาวบางตาละเอียดให้เม็ดเล็กที่สุด การให้ไข่แดงอย่าให้มาก เพราะเมื่อหลงเหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย
ไรแดง เป็นอาหารหลักของลูกปลาวัยอ่อน ช่วยให้ลูกปลามีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว มีอัตราการรอดสูง ก่อนให้ไรแดงเป็นอาหารลูกปลาทุกๆ ครั้งต้องแช่ด้วยด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อโรคเสียก่อน
อาหารปลาใหญ่
ปลาเป็ด เมื่อเรืออวนลากออกจับปลาตามชายฝั่ง จะได้ปลาหลายๆ ขนาด ปลาขนาดเล็กที่จับได้ไม่เป็นที่นิยมบริโภคกันมีราคาไม่แพงมากนัก ปลานี้เราเรียกว่าปลาเป็ด มีคุณค่าของสารอาหารประเภทโปรตีนสูง การให้ปลาเป็ดเป็นอาหารปลาดุกมักจะสับให้ละเอียด หรือใช้เครื่องบดอาหารได้
อาหารเม็ดลอยน้ำ ได้จากการนำวัตถุดิบต่างๆ ทางการเกษตรที่มีคุณค่าทางอาหารมาบดให้ละเอียดแล้วผสมให้เข้ากันอัดเป็นเม็ดออกมา
วัตถุดิบที่นิยมทำมาเป็นอาหารเลี้ยงปลาดุกทั่วๆไป จะหาซื้อได้ตามท้องถิ่นที่ได้จากพืช ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง กากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเมล็ด กากถั่วลิสง กากมะพร้าว ส่วนวัตถุดิบที่ได้มาจากสัตว์ก็มี ปลาเป็ด ปลาป่น เลือดป่น ในการเลือกวัตถุดิบเหล่านี้ควรจะเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี ไม่ขึ้นรา ไม่เหม็นหืน อาหารที่ได้จึงมีคุณภาพดี เก็บไว้ใช้ได้นาน

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปลาหางนกยุงครับ...







- ปลาหางนกยุง กับ ปลาทองนี้ผมว่าถ้าเป็นคนไทยอะนะครับ น้อยคนมากๆ ที่จะหาคนที่ไม่รู้จักปลา 2 ชนิดนี้ครับ ปลาทองนี่หาง่ายมากครับ เเถมราคาก็ไม่เเพงครับ ตัวนึงก็ไม่ถึง 5 บาทนะครับสวยๆ หน่อยก็ตัวละ 10 บาทเมื่อหลายปีก่อนนะครับมา ปัจจุบันเนี่ยผมว่าดีไม่ดีมันจะถูกลงด้วยซิครับ


- เป็นปลาสวยงามในกลุ่มปลาออกลูกเป็นตัวมีลักษณะ ลำตัว ครีบหาง สีสัน และลวดลายสวยงาม เป็นปลาที่เพาะเลี้ยงง่าย เจริญ เติบโตเร็ว ถ้าสนใจจะเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม หรืองานอดิเรก ด้วยการลงทุนที่ไม่สูงมากนักอะโรวาน่า ตะพัด หรือปลามังกร จัดเป็น สุดยอด ปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมเลี้ยงในกลุ่ม ผู้รักปลาสวยงาม และกลุ่มผู้มีความเชื่อถือว่าเป็นสัตว์น้ำ นำโชคลาภและความเป็นศิริมงคล มาสู่ตนเอง อันจะนำไปสู่ การมีคุณภาพ ชีวิตที่ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืนอีกด้วยปลากัด ปลากัดเป็นปลา สวยงาม พื้นเมืองของไทย ที่นิยมเพาะเลี้ยงมาตั้งแต่ อดีต ปลากัดที่มีการเพาะเลี้ยงในประเทศไทย มี 2 ชนิดคือ ปลากัดจีน และปลากัดหม้อ หรือปลากัดไทย ชนิดที่มีการเพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออกเป็นหลักคือปลากัดจีน

ปลาหมอสีครับ





ปลาหมอสี
- เค้าว่ากันปลาพันธุ์ จะมีความฉลาดมาก เเต่อันนี้ผมคิดไปเองนะครับ จริงๆ เเล้วมันจะฉลาดหรือเปล่าก็ไม่รู้เเต่ดูๆ ไปมันหน้าเหมือนคนเลยนะครับ
- เป็นปลา สวยงามน้ำจืดที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แม้ว่าจะเป็นพันธุ์ปลาที่มีถิ่นกำเนิด ในต่างประเทศก็ตาม แต่ด้วยความสามารถของเกษตรกรไทย ทำให้มีการพัฒนา เพาะขยายพันธุ์ ปลาหมอสี ส่งออก และการผลิต ปลาหมอสี สายพันธุ์ใหม่ ๆ อีกด้วยปลาหมอสีมีถิ่นกำเนิน ในทะเลสาบน้ำจืดในทวีปแอฟฟริกามี ขนาดใหญ่ เป็นอันดับ 9 ของโรคชื่อ "มาลาวี" และทะเลสาบ "แทนแกนยีกา" เป็นทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก และมีความลึกเป็นอันดับ 2 ของโลก และทะเลสาบวิคตอเรีย เป็นทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นปลาที่จัดอยู่ในวงศ์ ชิคลิดี ปลาชนิดนี้มีความหลากหลาย ทั้งชนิดและสายพันธุ์มีทั้งปลาบริโภค และปลาสวยงามได้แก่ ปลานิล, ปลาหมอเทศ, ปลาปอมปาดัวร์, ปลาเทวดา ปลาออสก้าร์ ฯลฯ ธรรมชาติของปลาชนิดนี้ เป็นปลาที่อดทน สามารถอดอาหารได้นับ 10 วัน


วันนี้จะเอาปลาชนิดต่างๆ มาเเนะนำครับ คาดว่าหลายคนคงรู้จักกันดีครับ


ปลาทอง

- ปลาสวย ปลาน่ารักน่ารัก ปลาฉลาด ปลานำโชค ปลาดุ ปลาน่ากลัว




- ใช่เเล้วครับเหล่านี้ล้วนเป็นปลาที่คนเรานำมาเลี้ยงดูกันครับ บ้างก็เอามาเป็นสัตว์เลี้ยงไวดูบ้างก็เลี้ยงไว้เพื่องทำธุรกิจ เป็นต้นครับ


- วันนี้เราจะมาเริ่มกันที่ปลายอดนิยมในบ้านเราครับ เเน่นอนครับผมคงไม่มีใครไม่รู้จักปลาทองเเน่ๆ ครับ ปลาทองมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และได้มีการนำเข้ามาเพาะขยายพันธุ์ในประเทศไทย จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีการคัดพันธุ์ เพื่อให้ได้ สายพันธุ์ใหม่ ๆที่มีลักษณะและสีสันแปลกออกไป นับเป็นปลาสวยงามเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน


ประเดิมบทความเเรก ประโยชน์ของการจัดตู้ปลา




ประโยชน์ของการจัดตู้ปลา

ปัจจุบันการจัดตู้ปลาได้รับความนิยมสูงมาก เพราะนอกจากจะให้ความ เพลิดเพลินแก่ผู้เลี้ยงแล้ว ยังให้ความสุขและความสวยงามแก่ผู้พบเห็นอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วย กำจัดยุง ซึ่งเป็นพาหะในการนำเชื้อ โรคร้ายมาสู่มนุษย์ เพราะปลาตู้ส่วนมากจะชอบกินลูกน้ำมากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ และไม่ทำให้น้ำในตู้ปลาขุ่นเหมือนอาหารชนิดอื่นๆ อีกด้วยในการจัดตู้ปลานี้ นอกจากจะจัดกันภายในบ้านแล้ว ยังมีการจัดตู้ปลากันในสถานศึกษา หรือหน้าร้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาสภาพจิตใจและร่างกายของมนุษย์ในสังคมให้ดีขึ้นซึ่งพอจะจัดแยกประโยชน์ของการจัดตู้ปลาได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

ความสำคัญของการจัดตู้ปลา การจัดตู้ปลา เป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกที่ดีต่อธรรมชาติเป็นการแสดงรสนิยมด้านศิลปะที่เชื่อมโยงกับความงามของธรรมชาติที่สามารถสัมผัสได้และช่วยให้จิตใจสดชื่นอารมณ์ร่าเริง แจ่มใสศิลปะต่างรูปแบบในการจัดตู้ปลาย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความงามของธรรมชาติที่ไม่สามารถบรรยายได้และมีอยู่จริง ซึ่งเปรียบเสมือนการสะท้อนภาพความงามจากธรรมชาติจำลองมาไว้ในตู้ปลา อีกทั้งยังเป็นการฝึกสภาพจิตใจของผู้เลี้ยงปลามือใหม่ ให้เกิดความรู้สึกที่ดีงามต่อธรรมชาติ

ประโยชของการจัดตู้ปล่า
1.ช่วยให้เราเป็นคนรักสัตว์ครับ
2. ช่วยในการพัฒนา สภาพจิตใจของผู้จัด หรือผู้พบเห็น ให้เกิดความรู้สึกสดชื่น 3. เพื่อเป็นการศึกษาความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต โดยจะต้องทราบถึงวิธีปฏิบัติว่าควรมีความหนาแน่นของปลาต่อขนาดของตู้ปลา เท่าใด ควรมีน้ำมากน้อยเพียงใด และควรให้อาหารชนิดใดจึงจะเหมาะสม 4. สร้างความอบอุ่นให้แก่ครอบครัว ซึ่งพ่อแม่ และลูก จะต้องมีเวลาใกล้ชิดกัน ช่วยกันตกแต่งตู้ปลา ดูแลพันธุ์ไม้น้ำ 5. ฝึกสร้างนิสัยอ่อนโยน โอบอ้อมอารี รู้จักชีวิตธรรมชาติที่ดี 6. ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 7. สามารถพัฒนาการจัดตู้ปลา เป็นการประกอบอาชีพเสริมได้
สิ่งที่ควรรู้ในการเลี้ยงปลาตู้
1. ธรรมชาติของปลาที่ต้องนำมาเลี้ยงในตู้ปลาแต่ละชนิด จะมีลักษณะธรรมชาติ เกี่ยวกับความเป็นอยู่ และลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน ดังนั้น หากเราจะเลี้ยงปลาชนิดใดเราควรศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของปลาชนิดนั้นพอสมควร เพื่อนำมาปรับกับส่วนอื่น ๆ ที่จะต้องจัดให้สอดคล้องกับธรรมชาติของปลาชนิดนั้น ๆ ภายในตู้ปลา


2. การจัดหรือเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำปลาตู้ ซึ่งอาจจะประกอบขึ้นเอง แบบง่าย ๆ โดยการใช้วัสดุราคาไม่แพงนัก หรืออาจจะหาซื้อได้จากร้านค้าประเภทเลี้ยงปลาตู้ที่มีอยู่ทั่วไป แต่ทั้งนี้จะต้องเลือกตู้ที่เหมาะสมกับชนิดของปลาที่จะเลี้ยง และความต้องการที่จะจัดตกแต่งเพื่อความสวยงาม เป็นต้น


3. สิ่งที่ควรคำนึงถึงเบื้องต้น ในการเลี้ยงปลาตู้ทั่ว ๆ ไป มีดังนี้


3.1 ให้มีเนื้อที่หน้าน้ำที่กว้าง ๆ โดยไม่มีอะไรลอยปกปิดอยู่


3.2 ให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ


3.3 ให้น้ำในตู้มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ตามลักษณะธรรมชาติของปลาที่จะเลี้ยง


3.4 ให้ใช้น้ำสะอาดเท่านั้น


3.5 ให้อาหารที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ปลา